sun-block

ครีมกันแดด เลือกใช้อย่างไรให้ปกป้องผิวได้ดี

ครีมกันแดด (Sunscreen) คือ สารที่ช่วยปกป้องผิวจากรังสีอัลตราไวโอเลตหรือรังสียูวี (Ultraviolet Radiation: UV) โดยช่วยให้ผิวไม่ถูกแสงแดดทำลายจนไหม้หรือเกิดจุดด่างดำต่าง ๆ รวมทั้งลดโอกาสเสี่ยงเป็นมะเร็งผิวหนัง ส่วนผสมที่อยู่ในครีมกันแดดจะช่วยปกป้องผิวด้วยวิธีต่าง ๆ ทั้งดูดซับรังสีอัลตราไวโอเลต ปกป้องชั้นผิวที่อยู่ลึก หรือสะท้อนรังสีอัลตราไวโอเลตกลับออกไป ทั้งนี้ ครีมกันแดดมีให้เลือกใช้หลากหลายรูปแบบ ได้แก่ โลชั่น ครีม ขี้ผึ้ง หรือสเปรย์ ครีมกันแดด เลือกใช้อย่างไรให้ปกป้องผิวได้ดี วันนี้เรามีคำตอบมาให้อ่านกันค่ะ

ครีมกันแดดสามารถแบ่งประเภทได้หลายประเภท โดยการจัดครีมกันแดดจะแบ่งออกเป็นประเภทตามกลไกการป้องกันแสงแดด และประเภทตามบริเวณที่ใช้ทา ดังนี้

  • ประเภทตามกลไกการป้องกันแสงแดด หากพิจารณากลไกการป้องกันแสงแดด ครีมกันแดดสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ สารกันแดดแบบเคมี และสารกันแดดแบบกายภาพ ดังนี้
    • สารกันแดดแบบเคมี (Chemical Absorbers) ครีมกันแดดประเภทนี้จะปกป้องผิวจากแสงแดด โดยใช้สารเคมีที่มีคุณสมบัติดูดซับแสงแดดที่ก่อให้เกิดปฏิกิริยาทางเคมีบนผิวหนัง สารกันแดดชนิดนี้มีประสิทธิภาพต่างกันไปตามชนิดของสารกรองแสงที่ช่วยป้องกันรังสียูวีเอ (Ultraviolet A) และรังสียูวีบี (Ultraviolet B) ทั้งนี้ สารกันแดดแบบเคมีมักไม่คงทน รวมทั้งก่อให้เกิดการระคายเคืองผิวได้
    • สารกันแดดแบบกายภาพ (Physical Blockers) ครีมกันแดดที่ผสมสารกันแดดแบบกายภาพ จะปกป้องผิวจากแสงแดด โดยใช้สารเคมีที่มีคุณสมบัติสะท้อนรังสีจากแสงแดดออกไป สารกันแดดชนิดนี้ป้องกันได้ทั้งรังสียูวีเอและรังสียูวีบี ไม่ก่อให้เกิดปฏิกิริยาเคมีกับผิวหนัง อย่างไรก็ตาม สารกันแดดแบบกายภาพจะมีเนื้อครีมที่ข้นและเหนียวเหนอะหนะ
  • ประเภทตามบริเวณที่ใช้ทา ครีมกันแดดมีให้เลือกใช้หลากหลายรูปแบบตามความต้องการ ซึ่งอาจแบ่งประเภทตามบริเวณที่ใช้ทาครีมกันแดด โดยทั่วไปแล้ว ครีมกันแดดจะมีทั้งแบบโลชั่น ครีม เจล ขี้ผึ้ง สเปรย์ หรือผสมอยู่ในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางอื่น ๆ ซึ่งมีประโยชน์ใช้สอยและเหมาะกับการใช้ทาเพื่อปกป้องแสงแดดตามบริเวณต่าง ๆ ของร่างกาย ดังนี้้
    • แบบครีม เหมาะใช้ทาบริเวณใบหน้าและผู้ที่มีผิวแห้ง
    • แบบเจล เหมาะสำหรับทาบริเวณที่มีขน เช่น หนังศีรษะหรือหน้าอกของผู้ชาย
    • แบบแท่ง ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางแบบแท่ง อาจผสมสารกันแดดร่วมด้วย ซึ่งเหมาะใช้ทาบริเวณที่อยู่รอบดวงตา
    • แบบสเปรย์ สารกันแดดในรูปแบบสเปรย์อาจนำมาใช้ทากันแดดให้แก่เด็ก เนื่องจากทาได้ง่าย โดยควรทาสารกันแดดเพื่อปกป้องผิวในปริมาณที่เพียงพอ และไม่ควรสูดดมหรือฉีดสเปรย์ใกล้วัตถุไวไฟหรือขณะที่สูบบุหรี่

นอกจากนี้ ยังมีครีมกันแดดที่ผลิตขึ้นมาสำหรับเด็กหรือผู้ที่มีผิวแพ้ง่ายโดยเฉพาะ รวมทั้งผสมสารป้องกันแสงไว้ในเครื่องสำอางหรือผลิตภัณฑ์บำรุงผิวต่าง ๆ ซึ่งควรใช้ตามวัตถุประสงค์หลักของผลิตภัณฑ์นั้น ๆ ไม่ควรนำมาใช้เพื่อป้องกันแสงแดด

ครีมกันแดดจะมีค่าป้องกันแสงแดดหรือค่า SPF (Sun-Protection Factor: SPF) ระบุไว้บนผลิตภัณฑ์ โดยค่า SPF คือตัวเลขที่ใช้บอกระดับการปกป้องผิวจากแสงแดด ตัวเลขที่ต่างกันนั้นประเมินจากการป้องกันรังสียูวีบีว่าป้องกันได้มากกว่าปกติกี่เท่า อย่างไรก็ตาม ค่า SPF ไม่ได้แสดงประสิทธิภาพของการป้องกันรังสียูวีเอ เช่น ผู้ที่ไม่ได้ทาครีมกันแดดจะมีผิวหนังแดงหลังตากแดดเป็นเวลา 15 นาที ส่วนผู้ที่ใช้ครีมกันแดดที่ค่า SPF 30 จะเกิดอาการดังกล่าวหลังตากแดดเป็นเวลา 450 นาที โดยคิดจากเวลาปกติที่ผิวหนังทนต่อแสงแดดได้คูณกับค่า SPF ที่ปกป้องผิวจากแสงแดดได้มากถึง 30 เท่า นอกจากนี้ การปกป้องผิวจากแสงแดดขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง ได้แก่ ระยะเวลาที่ออกแดด ช่วงเวลาที่ออกแดด สภาพแวดล้อม ฤดูกาล และอากาศ อีกทั้งยังมีระดับความแรงของแสงแดด การเสียดสีสัมผัส เหงื่อ หรือน้ำ ซึ่งอาจทำให้ประสิทธิภาพของค่า SPF ในครีมกันแดดที่ใช้ทาจริงต่ำกว่าค่าที่ได้จากห้องทดลอง ผู้ที่ใช้ครีมกันแดดจึงควรเลี่ยงอยู่กลางแจ้งที่มีแดดจ้าเป็นเวลานาน และต้องทาครีมกันแดดซ้ำอยู่เสมอ หรือทาซ้ำทุก 2-4 ชั่วโมง

ข้อควรรู้เกี่ยวกับครีมกันแดดและรังสียูวี

  • ครีมกันแดดไม่สามารถปกป้องผิวจากรังสียูวีได้อย่างสมบูรณ์ ควรใช้วิธีอื่นปกป้องผิวร่วมด้วย
  • ผู้ที่มีอายุมากกว่า 6 เดือน สามารถใช้ครีมกันแดดได้ในกรณีที่แพทย์ไม่ได้กำหนดให้ใช้วิธีอื่นดูแลผิวจากแสงแดด ทั้งนี้ ควรสวมเสื้อผ้าที่ปกป้องผิวจากแสงแดดได้ รวมทั้งเลี่ยงเจอแดดจ้า เพื่อลดโอกาสเสี่ยงผิวถูกทำลายจากรังสียูวี
  • ครีมกันแดดทุกตัวไม่สามารถป้องกันรังสียูวีได้ทั้งหมด โดยครีมกันแดดบางตัวอาจป้องกันเฉพาะรังสียูวีบี ซึ่งเป็นรังสีที่ส่องถึงพื้นผิวโลกเพียงร้อยละ 5 ในขณะที่ครีมกันแดดบางตัวป้องกันทั้งรังสียูวีบีและยูวีเอ
  • ควรทาครีมกันแดดเมื่อต้องออกไปข้างนอกเสมอ เนื่องจากดวงอาทิตย์จะปล่อยรังสียูวีออกมาตลอดปี ซึ่งรังสีดังกล่าวสามารถแทรกชั้นผิวและทำลายผิวได้
  • การอาบแดดเพื่อให้ผิวแทนถือเป็นอันตราย เนื่องจากผิวหนังจะได้รับรังสียูวีมาก โดยรังสียูวีเอจะทำให้ผิวแก่ก่อนวัย เกิดจุดด่างดำและฝ้า ส่วนรังสียูวีบีจะทำให้ผิวไหม้ ส่งผลให้เสี่ยงเป็นมะเร็งผิวหนังได้สูง ทั้งนี้ ผลิตภัณฑ์ผิวแทนบางตัวก็ไม่ผสมสารกันแดดเพื่อป้องกันรังสียูวีระหว่างที่อาบแดดด้วย
  • ครีมกันแดดที่ระบุว่า Water Resistant นั้น จะช่วยปกป้องผิวจากรังสียูวีเมื่ออยู่ในน้ำได้นาน 40 นาที ส่วนครีมกันแดดที่ระบุว่า Very Water Resistant ช่วยปกป้องผิวเมื่ออยู่ในน้ำได้นานถึง 80 นาที อย่างไรก็ตาม ครีมกันแดดที่ระบุว่า Waterproof หรือ Sweat Proof ถือเป็นผลิตภัณฑ์ที่ไม่ผ่านการรับรอง เนื่องจากใช้คำที่ไม่ถูกต้องและทำให้ผู้บริโภคเข้าใจผิด
  • ยังไม่ปรากฏว่าส่วนผสมในครีมกันแดดเป็นพิษหรือก่อให้เกิดอันตรายแก่ผู้ใช้
  • ผู้เชี่ยวชาญด้านผิวหนังแนะนำให้ทาครีมกันแดดที่ผสมค่าป้องกันแสงแดด SPF อย่างน้อย 30 ขึ้นไป ซึ่งจะช่วยป้องกันแสงแดดได้ถึงร้อยละ 97 อย่างไรก็ตาม ครีมกันแดดที่มีค่าป้องกันแสงแดดสูงจะช่วยป้องกันรังสีจากแสงแดดได้มากกว่าครีมกันแดดที่มีค่าดังกล่าวต่ำเพียงเล็กน้อย เนื่องจากครีมกันแดดไม่สามารถปกป้องผิวจากแสงแดดได้อย่างสมบูรณ์
  • ยังไม่ปรากฏหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่พิสูจน์ได้ว่าครีมกันแดดที่มีค่าป้องกันแสงแดดมากกว่า 50 สามารถปกป้องผิวได้ดีกว่าครีมกันแดดที่มีค่าป้องกันแสงแดด 50 ทั้งนี้ ผู้ที่ใช้ครีมกันแดดที่มีค่าป้องกันแสงแดดสูงหรือต่ำ ก็ไม่สามารถอยู่กลางแดดได้นานโดยไม่ทาครีมกันแดดซ้ำ
  • สเปรย์กันแดดอาจทำให้ได้รับปริมาณสารกันแดดที่ใช้ทาผิวได้ยากกว่าสารกันแดดรูปแบบอื่น ส่งผลให้ทาสารกันแดดไม่เพียงพอ
  • ครีมกันแดดอาจลดปริมาณการผลิตวิตามินดีของผิวหนัง

วิธีเลือกซื้อและใช้ครีมกันแดดอย่างถูกต้อง

ครีมกันแดดคือผลิตภัณฑ์ที่ช่วยปกป้องผิวจากแสงแดด ผู้ใช้ควรเลือกซื้อและใช้ครีมกันแดดอย่างถูกวิธี เพื่อให้ได้ครีมกันแดดที่สามารถป้องกันรังสีจากแสงแดดได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยวิธีเลือกซื้อและใช้ครีมกันแดดที่ถูกต้อง มีรายละเอียด ดังนี้

  • วิธีเลือกซื้อครีมกันแดด การเลือกซื้อครีมกันแดดหรือผลิตภัณฑ์ที่ป้องกันแสงแดดอย่างถูกต้อง ทำได้ ดังนี้
    • เลือกครีมกันแดดที่ปกป้องผิวได้อย่างครอบคลุม (Broad-Spectrum) ซึ่งจะช่วยปกป้องผิวจากรังสียูวีเอและรังสียูวีบี เนื่องจากครีมกันแดดทุกตัวจะช่วยป้องกันรังสียูวีบี ซึ่งเป็นรังสีที่ทำให้ผิวไหม้และเป็นมะเร็งผิวหนัง ครีมกันแดดหรือผลิตภัณฑ์ป้องกันแดดอื่น ๆ ที่ป้องกันทั้งรังสียูวีเอและยูวีบีจะได้รับการระบุบนฉลากผลิตภัณฑ์ว่า Broad-Spectrum ส่วนครีมกันแดดหรือผลิตภัณฑ์ป้องกันแสงแดดที่ไม่ได้รับการระบุดังกล่าวจะป้องกันผิวไหม้ แต่ไม่ครอบคลุมการป้องกันมะเร็งผิวหนังและผิวแก่ก่อนวัย
    • ควรเลือกครีมกันแดดที่มีค่า SPF 30 หรือมากกว่านั้น โดยค่า SPFจะช่วยบอกระดับการป้องกันผิวจากรังสียูวีบี ครีมกันแดดที่มีค่าดังกล่าวสูงก็จะปกป้องผิวจากแสงแดดได้มาก โดยครีมกันแดดที่มีค่า SPF 15 จะกรองรังสียูวีบีได้ร้อยละ 93 ครีมกันแดดที่มีค่า 30 จะกรองได้ร้อยละ 97 และครีมกันแดดที่มีค่า SPF 50 กรองได้ร้อยละ 98 ส่วนครีมกันแดดที่มีค่า SPFต่ำกว่า 15 สามารถป้องกันผิวไหม้ได้ แต่ไม่ป้องกันมะเร็งผิวหนังหรือผิวแก่กว่าวัย
    • เลือกครีมกันแดดที่กันน้ำได้ (Water Resistant) โดยครีมกันแดดชนิดนี้จะช่วยปกป้องผิวจากแสงแดดระหว่างที่ว่ายน้ำหรือเหงื่อออกได้นานประมาณ 40-80 นาที ผู้ใช้ควรทาครีมกันแดดซ้ำอย่างน้อยทุก 2 ชั่วโมง หรือมากกว่านั้น
    • เด็ก และผู้ที่มีปัญหาผิวหนังหรือเกิดอาการแพ้อื่น ๆ ควรเลือกครีมกันแดดหรือผลิตภัณฑ์ป้องกันแสงแดดที่ผสมไททาเนียมไดออกไซด์ (Titanium Dioxide) หรือซิงก์ออกไซด์ (Zinc Oxide) ซึ่งทำให้เกิดการระคายเคืองได้น้อย เลี่ยงใช้ครีมกันแดดที่ผสมกรดพาราอะมิโนเบนโซอิก (Para-Aminobenzoic Acid: PABA) หรือกรดพาบา หรือผสมเบนโซฟีโนน (Benzephenones) เช่น ไดออกซิเบนโซน (Dioxybenzone) ออกซิเบนโซน (Oxybenzone) หรือซอลลิเบนโซน (Sulisobenzone) รวมทั้งครีมกันแดดที่ผสมแอลกอฮอล์ น้ำหอม และวัตถุกันเสีย
  • วิธีใช้ครีมกันแดด

    การใช้ครีมกันแดดอย่างถูกต้องจะช่วยปกป้องผิวจากรังสีของแสงแดดได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งทำได้ ดังนี้

    • ควรทาครีมกันแดดก่อนออกแดดประมาณ 15-30 นาที
    • ควรลงครีมกันแดดก่อนแต่งหน้า โดยใช้ครีมกันแดดในปริมาณ 1 ออนซ์ หรือ 2 ช้อนโต๊ะ ทาให้ทั่วตัว ควรทาให้เนื้อครีมซึมซาบสู่ผิวทั้งหมด
    • ควรทาครีมกันแดดที่หู เท้า ด้านหลังขา หรือบริเวณที่อาจลืมทาได้ง่าย
    • ควรทาลิปบาล์มที่มีค่าป้องกันแสงแดด 30 เพื่อปกป้องริมฝีปากจากรังสียูวี
    • ควรทาครีมกันแดดชนิดกันน้ำทุกครั้งก่อนว่ายน้ำ และควรทาซ้ำทุก 2 ชั่วโมง หรือหลังจากว่ายน้ำหรือมีเหงื่อออก
    • ไม่ใช้ครีมกันแดดที่หมดอายุ เนื่องจากครีมกันแดดจะเสื่อมประสิทธิภาพ รวมทั้งไม่ใช้ครีมกันแดดที่ซื้อทิ้งไว้ 3 ปีหรือนานกว่านั้น
    • ไม่ควรทาครีมกันแดดให้แก่เด็กที่อายุต่ำกว่า 6 เดือน โดยดูแลเด็กไม่ให้โดนแสงแดดมากเกินไปและสวมเสื้อผ้าที่ปกป้องผิวของเด็กจากแสงแดดได้

ข้อดีและข้อเสียของครีมกันแดด

การใช้ครีมกันแดดหรือผลิตภัณฑ์ปกป้องผิวจากแสงแดดมีทั้งข้อดีและข้อเสีย ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้

  • ข้อดีของครีมกันแดด

    ครีมกันแดดช่วยปกป้องผิวจากรังสียูวีเอและรังสียูวีบี ผู้ใช้ครีมกันแดดอย่างสม่ำเสมอจะได้รับประโยชน์ดังกล่าว ซึ่งช่วย:

    • ป้องกันความเสี่ยงเป็นมะเร็งผิวหนังได้ง่าย
    • ปกป้องผิวไม่ให้ถูกแสงแดดเผาหรือทำลาย
    • ช่วยไม่ให้ผิวแก่ก่อนวัย ส่งผลให้ไม่เกิดจุดด่างดำหรือฝ้าบนใบหน้าและผิวหนังส่วนอื่น
  • ข้อเสียของครีมกันแดด

    ผู้ใช้ครีมกันแดดอาจได้รับผลข้างเคียงจากการใช้ครีม ดังนี้

    • ลดการผลิตวิตามินดีของผิวหนัง ผู้ใช้ครีมกันแดดอาจรับประทานอาหารที่มีวิตามินดีหรือวิตามินเสริม เพื่อเสริมสร้างวิตามินดีให้ร่างกายอย่างเพียงพอ
    • มีคราบครีมกันแดดติดตามเสื้อผ้า เนื่องจากครีมกันแดดหรือผลิตภัณฑ์กันแดดบางตัวผสมกรดอะมิโนเบนโซอิก หรือกรดพาราอะมิโนเบนโซอิก
    • ผิวแพ้ง่ายขึ้น เกิดการระคายเคือง หรือมีรอยแดงที่ผิว เนื่องจากครีมกันแดดมีส่วนผสมบางตัวที่ทำให้ผิวแพ้สารต่าง ๆ ได้ง่าย ควรล้างออกและหยุดใช้ รวมทั้งปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร เพื่อเลือกใช้ครีมกันแดดหรือผลิตภัณฑ์ป้องกันแดดตัวอื่นแทน
    • กระตุ้นให้เกิดสิวได้

แนะนำบริษัทรับผลิตครีมกันแดดทุกชนิด แบบครีม แบบเจล แบบสเปรย์

บริษัท เอส.พี.วาย. คอสเมติก จำกัด ของเราเป็นโรงงานที่ได้รับมาตรฐานระดับสากล อาทิเช่น GMP HALAL FDA  กระบวนการผลิตได้มาตรฐาน มีเครื่องจักรทันสมัย มีทีมวิจัยมากประสบการณ์ สามารถผลิตครีมและเครื่องสำอางแบบครบวงจรตั้งแต่ต้นจนจบออกมาเป็นผลิตภัณฑ์ OneStop Service พร้อมให้คำปรึกษาด้านการตลาดอย่างใส่ใจ รวมทั้งมีบริการหลังการขายให้อย่างดีเยี่ยม บริษัทมีประสบการณ์ผลิตสินค้าให้กับแบรนด์ชั้นนำ ซึ่งจำหน่ายอยู่ในห้างสรรพสินค้า ซุปเปอร์มาเก็ต และ เค้าเตอร์แบรนด์ อย่างมากมาย จึงมั่นใจได้ว่าผลิตภัณฑ์ต่างๆที่ผลิตออกมาโดย บริษัท เอส.พี.วาย. คอสเมติก จำกัด มีคุณภาพดีอย่างแน่นอน

-รับผลิตเครื่องสำอาง   -รับผลิตครีมครบวงจร  -บริษัทรับผลิตครีม  -สร้างแบรนด์ครีม  -รับผลิตครีมซอง  -รับผลิตครีมกันแดด

แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม

ที่มา : https://www.pobpad.com

Facebook Comments